เมนู

พ. เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอพิจารณาเห็นใจว่า
นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้หรือ.
ภิ. หามิได้ พระเจ้าข้า.
พ ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้ การที่เธอพิจารณาเห็นใจว่า นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ จักเป็นอันเธอ
เห็นแล้วด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์.
จบ ปฐมผัสสายตนสูตรที่ 9

อรรถกถาปฐมผัสสายตนสูตรที่ 9


ในปฐมผัสสายตนสูตรที่ 9 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า ผสฺสายตนํ ได้แก่ อาการถูกต้อง. บทว่า อวุสิตํ แปลว่า
ไม่อยู่แล้ว. บทว่า อารกา แปลว่า ในที่ไกล. ด้วยบทว่า เอตฺถาหํ
ภนฺเต อนสฺสาสํ
นี้ ภิกษุทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
ชื่อว่าเป็นผู้ฉิบหายแล้วในพระศาสนานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า
ภิกษุนี้กล่าวว่า เราชื่อว่าฉิบหายแล้วในพระศาสนานี้ เธอยังมีความเพียรยิ่ง
อยู่ในธาตุกัมมัฏฐานและกสิณเป็นต้นอย่างอื่นหรือหนอ. เมื่อไม่เห็นความ
เพียรยิ่งนั้น จึงทรงพระดำริว่า กัมมัฏฐานอะไรหนอจักเป็นสัปปายสบายแก่
ภิกษุนี้. แต่นั้นทรงเห็นว่า กัมมัฏฐานคืออายตนะนั่นแล จักเป็นสัปปายะ
เมื่อจะตรัสบอกกัมมัฏฐานนั้น จึงตรัสว่า ตํ กึ มญฺญสิ ภิกฺขุ ดังนี้เป็นต้น
บทว่า สาธุ เป็นความร่าเริงในการพยากรณ์ของเธอ. บทว่า เอเสวนฺโต
ทุกฺขสฺส
ความว่า นี้นี่แลเป็นที่สุดคือความขาดไปแห่งวัฏฏทุกข์ คือ
นิพพาน.
จบ อรรถกถาปฐมผัสสายตนสูตรที่ 9